พูดการเมือง ตอน ถอดถอนองคมนตรี

Posted: April 17, 2007 in วัฒนธรรมพิพากษ์-สังคมพิจารณ์-การเมืองพิสดาร


ตอนที่เขียนเอนทรี่ที่แล้ว ก็รู้สึกไม่ได้ชอบอะไรมากครับ รู้สึกว่า น่าจะเขียนอะไรมีสาระมากกว่าเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ … แต่ปรากฏว่า การตอบสนองดีกว่าที่คิด (คอมเมนท์ทะลุ ๒๐ เลยนะเอ้อ) ก็เลยคิดว่า คงยังทิ้งการเขียนแนวความรักไม่ลง (ฮา)

วันนี้ ตอนแรกมีอีกเรื่องจะมาเล่าครับ แต่เมื่อวานอ่านข่าว แล้วมีเรื่องกระทบใจ กลายเป็นว่าเขียนเรื่องนี้ออกมาก่อนท่าจะดี แต่คราวนี้เนื้อหาหนักฮะ จะมีฅนเมนท์ถึงสามฅนรึเปล่ายังไม่รู้เลย (ฮา) ต้องตามเรื่องการเมืองหน่อยมั้ง ถึงจะรู้เรื่อง

*****


จะมาพูดถึงเรื่องการเข้าชื่อถวายฎีกาเพื่อถอดถอนประธานองคมนตรีตอนนี้
ก็ดูจะเป็นเรื่องที่สายเสียแล้ว เพราะรู้สึกว่าจะยกเลิกกันไปแล้วนะฮะ (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)

 

แต่พอดีเมื่อวาน (วันจันทร์ที่ 16
เมษายน) ได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน มีคอลัมน์ที่เขียนถึงเรื่องนี้โดยนักนิติศาสตร์อยู่
(ขออภัยที่จำชื่อไม่ได้จริง ๆ ครับ พอจะกลับไปค้น แม่บ้านก็เก็บไปแล้ว
“- –)

 

ใจความหลัก ๆ ในบทความนั้น บอกว่า
การเข้าชื่อถวายฎีกาที่เกิดขึ้น ไม่เป็นความผิด แต่อย่างใด
และมีเหตุผลรองรับสองประการ

 

อย่างแรก องคมนตรี ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ที่จะละเมิดมิได้
ย่อมสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ (ถ้ามีเหตุผลอันสมควร)
ถ้าเกิดรู้สึกว่านั่นคือการหมิ่นประมาท ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องศาลตามระบบ

 

อันนี้เห็นด้วยอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง

 

อย่างที่สอง การเข้าชื่อเพื่อถวายฎีกา
ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เป็นประเพณีที่ฅนไทยทำมาตั้งนานแล้ว
เพื่อขอให้พระมหากษัตริย์ลงมาบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้นให้ราษฎร
หรือเรียกร้องสิทธิอันควรได้ อีกประการ การเข้าชื่อนี้
ไม่ได้มีผลที่จะทำการถอดถอนแต่อย่างใด แต่เป็นการเข้าชื่อให้พระมหากษัตริย์
ทรงพิจารณา
ดังนั้น จึงกระทำได้ และไม่เป็นการระคายเบื้องพระยุคลบาทแต่อย่างใด
จากนั้นก็ตบท้ายว่า ถ้าการเข้าชื่อถวายฎีกาเป็นความผิด
การขอนายกพระราชทานก็เป็นความผิดด้วยสิ

 

พร้อมเหน็บแนมเล็ก ๆ ว่า
ควรจะพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ตามเหตุและผล
และไม่อ้างพระมหากษัตริย์เพื่อเหตุผลทางการเมือง
ฯลฯ

 

อ่านแล้วก็รู้สึกเป็นเหตุเป็นผลดีครับ
แต่ขัดความรู้สึกนิดหน่อย เรื่องผิดกฎหมายไม่ผิดกฎหมาย
คงไม่ขอไปเถียงกับนักนิติศาสตร์หรอกครับ แต่แค่รู้สึกว่า ไม่ผิดกฎหมาย
ไม่ได้แปลว่าทำได้ หรือสมควรทำเสมอไป

 

แล้วก็นึกถึงเรื่องเปรียบเทียบเรื่องหนึ่ง

 

สมมติว่ามีกำนันอยู่ฅนนึง
ทำหน้าที่ได้อย่างดีเสมอมา เวลาชาวบ้านมีปัญหาอะไร ก็เข้าชื่อถวายฎีกา เอ๊ย
เข้าชื่อเพื่อเรียกร้องให้กำนันช่วยแก้ไขปัญหาให้

 

ทีนี้กำนันดันเป็นมหาเศรษฐี
แล้วก็ทำพินัยกรรมยกสมบัติ ปรากฎว่า นายป. (นามสมมติ) ได้รับสมบัติมากกว่าฅนอื่น
ชาวบ้านที่รู้ข่าว และไม่ชอบนายป. (ไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม)
ก็เลยเข้าชื่อยื่นให้กำนันมหาเศรษฐี เรียกร้องให้ระงับการยกพินัยกรรมให้นายป.ซะ

 

พอมีฅนบอกว่าทำไม่ถูก ก็ให้เหตุผลว่า
เรื่องเข้าชื่อเสนอ ก็เป็นเรื่องปกติ เวลาชาวบ้านมีปัญหาอะไรก็ทำกัน
แถมไม่ได้บังคับอะไรกำนันมหาเศรษฐีด้วย แค่ยื่นเรื่องให้พิจารณาเฉย ๆ

 

ฟังแล้วก็รู้สึกว่าไม่ได้ทำอะไรผิดหรอกฮะ
(เมืองไทยมีเสรีภาพจะตาย ใครจะทำอะไรก็ทำได้) แต่พอนึกภาพว่า
เรื่องยกพินัยกรรมมันเป็นเรื่องของฅนในครอบครัว ทุกอย่างเป็นการตัดสินใจล้วน ๆ
ของกำนันมหาเศรษฐีที่จะยกสมบัติให้ใครก็ได้ (ไม่ว่านายป.จะไปทำอะไรมาก็ตาม)
พอเจอชาวบ้านก้าวล่วงมายุ่งกับเรื่องในครอบครัวอย่างนี้
มีคำคำนึงที่แวบมาให้หัวของผมครับ

 

คือคำว่า  เสือก

Comments
  1. Jinnipar says:

    สารภาพเลยว่าไม่รู้เรื่องการเมือง –  -" ตราบใดที่ตัวเองยังไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ ก็ปล่อยผู้ใหญ่ทะเลาะกันไปนั่นแหละ
     
    หุๆ คนแรกๆ

  2. ~*beevers3~* says:

    ตาก้อนเขียนไรเต็มไปหมด ไม่เหนรุเรี่องเรยง่ะ -*-  เปลี่ยนแนวเขียดดีไหม  ชริชริ

  3. Jang says:

    อาราก้อน..
     
      เปลี่ยนแนวแบบ..ปรับอารมณ์ไม่ทันอ่ะน้อง
    ไม่ใช่เรื่องจะถูกผิดอะไรหรอก..แค่ไม่ถูกใจก็เท่านั้นแหล่ะ
    ทำตามใจได้คือไทยแท้..อันนี้แน่กว่าแช่แป้ง..(.มันเกี่ยวไรกะแป้งเนาะ..)
    ก็พอดีว่ากำนันทำถูกใจมาตลอด  ก็พอดีว่ากำนันทำไม่ถูกใจในตอนจบ
    และจริงๆแล้วไม่มีใครสนใจว่ากำนันคิดอะไร มากกว่าสนใจว่ากำนันจะทำถูกใจชาวบ้านหรือเปล่า…ก็เท่านั้น
    ประชาธิปไตย..หรือประชาถูกใจ
    รากฐานของมันไม่ได้อยู่บนความจริงใจมาตั้งแต่แรกเริ่ม  มันก็ไม่แปลกที่จะมีเรื่องให้ปวดหัวไม่ใช่หรือ
     
    แม๊…พื้นสเปซสีชมพูซะ…นึกว่าข่าวดีมาไว..เข้ามามึนตึ๊บ5555
    ปล.ปกติชอบนะ..ช่วงนี้ชีวิตหนักหนาสาหัสพอแล้วอ่ะค่ะ..ละวางสักหน่อย
     
    ตกลงรู้หรือยังว่ามามี่โป๊ะโกะคืออะไรน่ะ…มีแฟนก่อน  แต่งงาน มีลูก  แล้วก็รู้เอง
    ก้อนอาจจะต้องรู้เป็นขั้นเป็นตอนเหมือนตอนทำแลป..555
    เสริชกูเกิ้ลไม่เจอล่ะสิ..

  4. gibt says:

    555 ยังไม่เปลี่ยนสีแสนหวานแฮะ แต่ว่าเนื้อเรื่องเปลี่ยนไปเยอะเลย จากที่เคยรู้ติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิดตอนอยู่โรงเรียน ตอนนี้บอกได้คำเดียวว่า….เบื่อ
     
    ดูเหมือนว่าจะหาคนที่ออกมาแสดงตัวโดยไม่มี hidden agenda ยากเหลือเกิน
     
    จะว่าเราเป็นพวกหัวเอียงซ้ายป่าว ถ้าจะบอกว่า…บางทีเราคิดว่าเมืองไทยอาจจะไม่เหมาะกับระบอบประชาธิปไตยก็ได้นะ คนของเรายังมีส่วนที่ไม่เข้าใจกับสิ่งที่มันควรจะเป็น (ตัวเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้น) ที่แย่กว่านั้นคือคนกลุ่มใหญ่ที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงๆในเมืองไทยไม่อาจพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าตัวเองเป็นคนมีจริยธรรม (เราไม่เหมารวมทุกคนนะ)
     
    กฎหมายทุกมาตราไม่อาจตีความได้ตามคำพูดเท่านั้น สิ่งที่ควรทำคือการตีความตามที่มาและเหตุผลของกฏนั้นๆต่างหาก
     
    เฮ้อออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออ

  5. khajirat says:

    =="… อา.. เรื่องการเมือง.. มีแต่พ่อกะแม่ที่ชอบพูดกัน… คือแบบเป็นเรื่องของผู้ใหญ่เค้าพูดกัน
    (คือ.. สมองเราปัญญาอ่อนไปที่จะมานั่งวิเคราะห์เรื่องการเมืองน่ะ ชอบอ่านข่าวชิลๆมากกว่า)
    แต่..
    คือเรื่องของกฎหมายไม่ใช่เรื่องของความรู้สึกนะเราว่า..
    ถ้าบอกว่าทำได้ก็คือทำได้ บอกว่าผิดก็คือผิด..ถึงแม้ว่ามันจะดูขัดกับความรู้สึกก็เหอะ
    อย่างข่าวเมื่อเร็วๆที่มีเด็กขโมยซาลาเปา 1 ลูกจากร้านขายของ เจ้าของร้านก็จะเอาผิดเด็กคนนั้นให้ได้
    แล้วพอเค้าไปแจ้งตำรวจตำรวจก็ต้องดำเนินคดีเพราะเด็กทำผิดจริง..
    ถึงใครๆจะแย้งว่า ก็แค่ซาลาเปาลูกเดียว จะไปเอาผิดกะเด็กทำไม..
    หรือแบบโจรขโมยของไปให้คนยากคนจน.. ดูมีศิลธรรมดีน่ะ..แต่เค้าก็ผิด
    อย่างเรื่องที่ก้อนพูด.. ก็คือเรื่องที่ทำได้.. กฏหมายบอกทำได้ ทุกคนมีสิทธิ์เสรี ประชาชนก็ทำไง
    ถึงเราจะดูว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่อง"เสือกอะไร" ก็เหอะ
    กฏหมายเมืองไทย.. เค้าว่ามันมีอะลุ่มอะหล่วยกันเยอะจะตายไป ถ้ายอมความกันได้ก็ถือว่าอีกฝ่ายไม่ผิดแระ เข้ากะนิสัยคนไทยดี่น่ะ

    ต่างประเทศเค้าสตริกกว่านี้มากๆ ตามกฎหมายกันเด๊ะๆ ดูโหดร้ายและขัดความรู้สึกกว่านี้เยอะ
    แต่จะว่าก็ว่าเถอะ.. ปกติคนไทยก็เอาแต่ใจ.. ออกชอบแหกกฎจะตายไป มีกฎหมายก็อะลุ้มอะหล่วยได้
    แต่พออยากทำอะไรขึ้นมาก็เอากฎหมายขึ้นมาอ้าง.. จะได้ดูมีเหตุผลขึ้นซะงั้น

    อืม.. พูดเรื่องการเมืองแต่ไหงวกเข้าเรื่องกฎหมายได้นี่.. งงตัวเอง ^^"

  6. EIG says:

    ผมไม่ทราบรายละเอียดอะไรเท่าไหร่หรอกนะครับ
    แต่ก็คิดว่าไอ้เรื่องผลกระทบทางตรงนั้น คงเป็นไปไม่ได้ ตราบที่สถาบันมหากษัตริย์เรายังเป็นที่แตะต้องไม่ได้อยู่ (ซึ่งผมไม่ได้คิดว่าไม่ดีนะครับ)
    แต่ผลกระทบทางอ้อมของเรื่องนี้ อาจจะเป็นเรื่องดีต่อสังคมก็ได้
    เพราะมันจะได้ทำให้ เราได้มีวิพากย์วิจารณ์กันว่า ป๋าเปรม เค้าทำตัวเหมาะสมไม่เหมาะสมหรือไม่อย่างไร
    ว่าแต่พี่ก้อนคิดว่าไง อะครับ

  7. EIG says:

    ลืมแจงว่า มันดียังไงกับการ วิพากย์วิจารณ์
    คือผมว่า การวิพากย์วิจารณ์ประเด็นต่างๆ กันในสังคม ย่อมทำให้สังคมได้คิด
    ยิ่งเป็นประเด็นที่ขัดแย้งยิ่งทำให้ได้คิด(ถ้าเถียงกันด้วยเหตุผลสักนิด)
     
    ซึ่งเมื่อสังคมได้คิด ก็จะทำให้ถูกชักจูงไปเพื่อผลประโยชน์ของใครบางคนได้ยากขึ้นครับ

  8. ก้อน Masatha says:

    Ginnie~* >>> หุหุหุ เออ จริงด้วยแหละ ในเมื่อเราไม่ได้เดือดร้อนอะไรด้วย ก็ไม่รู้ว่าจะใส่อารมณ์ไปกับเรื่องแบบนี้ทำไม (สงสัยต้องอ่านข่าวการเมืองให้น้อยลงซะแล้วกระมัง)
     
     
    ¤¤ BeEvErS ¤¤ >>> อ่านไม่รู้เรื่องก็ไม่แปลกหรอกจ้า (ถ้ารู้เรื่องสิจะน่าแปลกใจมากกว่า) ฅนเรามันก็มีหลายมิติแหละ เวลาเขียนเรื่องก็คงมีหลาย ๆ แนวคละเคล้ากันไป จะให้เขียนเรื่องความรักอย่างเดียวคงเลี่ยนตาย)
     
     
    ¤°•TwïѬ߱┢┦ømë•°¤  >>> อ่านเมนท์พี่แจงแล้วชักไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจตรงกันรึเปล่า (แหะแหะ) แต่มามี่โป๊ะโกะ… ต้องรอมีลูกเลยเหรอฮะ? (แอ้ยังไม่มีแฟน ไม่มีลูก ยังรู้จักเลยนี่หว่า)
     
     
     
    gibt >>> —-ดูเหมือนว่าจะหาคนที่ออกมาแสดงตัวโดยไม่มี hidden agenda ยากเหลือเกิน—-เห็นด้วยอย่างแรง ฅนที่ออกมาให้สัมภาษณ์ก็เป็นพวกมีเบื้องลึกเบื้องหลังทั้งนั้น ไม่เห็นมีใครที่แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลางจริง ๆ สักเท่าไหร่เลย แล้วก็น่าแปลกที่สื่อมวลชนก็ชอบสัมภาษณ์ฅนที่มีผลประโยชน์เข้ามายุ่งเกี่ยวอย่างนี้เสียเหลือเกิน แล้วก็เหมาเอาว่านั่นเป็นความเห็นของสังคมส่วนใหญ่
    เฮ้อออออออ… (ด้วยฅน)
     
     
     
    im ann>>> มีความเห็นที่ต่างออกไปนิดหน่อยน่ะครับ
    ผมคิดว่า กฎหมายไม่ได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นมา เพราะฉะนั้น เรื่อง ๆ เดียวกัน (หรือกฎหมายเดียวกัน) อาจจะมีทั้งฅนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  สิ่งที่จะมาตัดสินว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นถูก/ผิด หรือ เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย ผมว่ามันเป็นเรื่องของความรู้สึกจริง ๆ นะครับ (เรียกเต็ม ๆ ว่าความรู้สึกผิดชอบชั่วดี) ดังนั้น กฎหมายมันควรจะไม่ขัดกับสามัญสำนึกของเรา หรือถ้าขัด อย่างน้อยถ้าแจกแจงเหตุผล ก็น่าจะโน้มนำให้รู้สึกคล้อยตามได้
    อยากให้พี่แอนได้อ่านเอนทรีของผมเรื่อง บัตร BTS โคตรโกง (วันที่ 20 เมษายน ปีที่แล้ว) อาจจะเข้าใจมากขึ้นว่าผมจะสื่ออะไรก็ได้นะฮะ
     
     
    eig>>> การวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องดีจริง ๆ ครับ แล้วสังคมก็ไม่ได้ห้ามปรามอะไรด้วย อย่างประธานองคมนตรีเอง ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางหน้าหนังสือพิมพ์เป็นประจำ เวลามีคำพูด หรือการกระทำอะไรออกมา ซึ่งก็มีทั้งฅนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อันนั้นไม่ได้เป็นปัญหาอะไรเลย
     
    แต่ตอนนี้ มันล้ำเส้นของการวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้วน่ะสิครับ
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

  9. [-c'',)uI+-] says:

    ปกติเป็นคนไม่ค่อยชอบเมนต์เท่าไหร่ เพราะว่าเขียนไม่ค่อยเก่ง แต่อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยอยากแชร์ความคิดเห็นของตัวเองมั่ง
     
    จริง ๆ แล้วในมุมมองของอุ๋ยนะ การใช้กฎหมายมันเกี่ยวเนื่องกับการตีความ เรื่องบางเรื่องแม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติไว้ว่าทำได้ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับบริบทของเรื่องนั้นนั้นด้วย ว่ามันควรหรือไม่ควร ถ้าไม่จำเป็นต้องมีคนมาคอยตีความ เช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีนักกฎหมาย ทนายความ ทั้งหลายหรอก เพราะกับอีแค่อ่านบทบัญญัติแล้วดูว่ามันทำได้หรือไม่ได้เนี่ย ใครก็ทำได้ มันกำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่การตีความกฎหมายและการเลือกใช้กฎหมายในสภาวะการณ์ต่างต่างอย่างสมควรต่างหาก ที่เป็นสิ่งที่จำเป็น
     
    อย่างกรณีที่พี่ก้อนเขียนขึ้นเนี่ย เห็นภาพชัดเจนมาก แม้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้ว่าทำได้ แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดที่เราต้องคิดก่อนทำก็คือ เรื่องนั้นมันสมควรทำหรือเปล่า มันสอดคล้องกับบริบท ณ เวลานั้นหรือไม่ จะมาบอกว่าตูข้าอ่านตัวบทมาแล้ว มันบอกว่าทำได้ แปลว่าตูข้ามีสิทธิ งั้นตูข้าก็ทำเลย ไม่สนหรอกว่าควรไม่ควร เหมาะกับประเทศเราหรือเปล่า ก็ตูข้าจะทำอะ ใครจะทำไม แบบนี้มันเข้าข่ายใช้กฎหมายไม่เป็น อ่านเป็นอย่างเดียว !! ถ้าเป็นแบบนี้ นิติกรประเทศไทยคงเป็นอันว่าตกงาน O_o
     
    ปล. ไม่ว่านักนิติศาสตร์ท่านที่เขียนบทความนั้นจะเป็นใครก็ตาม แต่อยากให้พี่ก้อนเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่าใช่ว่านักนิติศาสตร์ทุกคนจะคิดเช่นนั้นน๊า ~ อยากจะบอกว่าตอนอ่านบทความนี้ก็ไม่ถูกใจเท่าไหร่เหมือนกัน

  10. Korn says:

    โอ้ว  =O นั่งทำรายงานกำลังเบลอได้ที่เลยว่าจะมาเยี่ยมเยี่ยม blogนายซะหน่อย ดั้นมาเจอเรื่องแนวเครียดอีกแล้ว –;
     
     
    เอ้อ ที่ถามเรื่องโทอะ ตอนนี้เรียน Marketing & Strateg…เฮ้ยอ้คุณเพื่อนสนิทครับ กรูเรียนมาเป็นปีจนจะเทอมสุดท้ายแล้วไม่รุเลยเรอะว่าเรียนอะไร -*-

  11. katachi says:

      เห็นด้วยกะพี่ก้อน
    ทีอย่างเงี้ยหละมาตีความ ลอดช่องว่างทางกฏหมายตลอด
         ทำไมไม่รุจักใช้สามัญสำนึกดูบ้างก็ไม่รุนะคะ
    เรื่องการเมืองเนี่ย อย่าจุดประกาย
    เดี๋ยวข้าวตูพูดไม่หยุดจริงๆ
                   ข้าวตู 34

  12. Jang says:

    ช่าง(การเมือง)มันเหอะก้อน..พี่ก็ชักไม่แน่ใจ
    ประเทศนี้ คนที่เข้าใจว่าประชาธิปไตย คือการอยู่ร่วมบนความแตกต่างได้  หาใช่การที่ต้องได้เท่าเทียมหรือได้บ้างเหมือนกัน
    มีสักกี่คนเชียว…
    ปล่อยให้ประเทศไทยเป็นอย่างมันต้องเป็นเหอะ…คิดว่ามัน..ควรเป็น..น่ะ…พี่ว่าไกลเกินไปแล้วสำหรับประเทศเรา
     
    แหม..จะมาเหน็บเรื่องโป๊ะโกะย่ะ…ทำเขวอีกแล้ว..555
    แบบแอ้..อาจไม่ต้องถึงขั้นนั้นไง แต่ก้อน…พี่ไม่แน่ใจ..ดูๆเหมือนจะรู้ แต่ไม่รู้ซะงั้น..
    หรือบางเรื่องรู้..แต่แกล้งไม่รู้..ฮา
     
     
     
     
     

  13. Chayanin says:

    ถ้าชาวบ้านรู้สึกว่า นายป.เอาสมบัติไปแล้วทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ชาวบ้านอยากขอให้กำนันช่วยดูหน่อยได้มั้ย?ถ้านายป.เอาตัวไปหลบหลังตำแหน่งกำนัน กำนันจะช่วยดูให้หน่อยได้มั้ย?หรือจะปล่อยให้เขาไปนินทากัน ว่ากำนันสนับสนุนนายป.?(ไม่เกี่ยวกับการเมืองใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่ได้ติดตามข่าวเลย ขอเวลาอยู่เงียบๆสักพัก)

Leave a comment